วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ดื่มน้ำอย่างไรให้สุขภาพดี



  • สำหรับการดื่มน้ำที่ถูกต้องนั้น ไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นปริมาณมากๆ ควรใช้วิธีการดื่มทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้นำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และควรหยุดการดื่มน้ำพร้อมๆ หรือก่อนการรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง ส่งผลให้การย่อยไม่ดี ควรเลือกดื่มน้ำก่อนการรับประทานอาหารอย่างมากไม่เกิน 1 แก้ว เพื่อให้น้ำย่อยมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้เต็มที่ หลังทานอาหารเสร็จแล้ว 40 นาที ค่อยดื่มน้ำตามปกติ เพื่อให้กระเพาะได้ทำการย่อยอาหารก่อน



โดยปกติเราควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ประมาณ 2 ลิตร แล้วแต่น้ำหนักตัวของแต่ละคน หลักการดื่มน้ำที่ถูกต้องมีดังนี้ 
1.ดื่มน้ำที่สะอาด
  • 2.ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง กล่าวคือไม่ร้อนหรือเย็น
    • 3.ดื่มให้เพียงพอวันละ 6-8 แก้ว
        • 4.เมื่อกระหายน้ำให้ดื่มน้ำทันที
            • 5.ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป เพราะะทำให้ไตทำงานหนัก
              • 6.ไม่ควรดื่มน้ำก่อนหรือพร้อมๆ กับรับประทานอาหารปริมาณมากๆ เพราะจะทำให้น้ำย่อยเจือจาง
                    • 7.เมื่อรับประทานอาหารรสจัด ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติเล็กน้อย

              สุดยอดโปรแกรมออกแบบ 3 มิติ

              โปรแกรมออกแบบบ้านที่ใครๆ ก็สามารถออกแบบได้
              โปรแกรมที่ว่านี้ก็คือโปรแกรม sketchup จากผู้ผลิตค่าย google นั่นเอง เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับนักออกแบบมือสมัครเล่นไปจนถึงนักออกแบบมืออาชีพ สามารถใช้งานได้หลากหลาย

              ภายในโปรแกรมมีแม่แบบ (template) ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม


              จะมีทั้งระบบเอสไอ และระบบอิมพีเรียล รวมถึงสามารถปรับรูปแบบต่างๆ ได้ตามต้องการ


              บริษัทผู้ผลิตโปรแกรมได้ออกแบบโปรแกรมนี้โดยคำนึงถึงความเรียบง่ายในการใช้งานเป็นหลัก และมีฟังก์ชั่นสำหรับการส่งข้อมูล output ไปยังโปรแกรมเขียนแบบต่างๆ อย่างเช่น autocad ได้อีกด้วย

              นอกจากข้อดีในด้านความเรียบง่ายในการใช้งานแล้ว ทางทีมงานของ google ได้รวมเอาระบบ 3D warehouse ซึ่งเป็นแหล่งรวมโมเดล 3 มิติต่างๆ ให้ผู้ใช้งานได้โหลดมาใช้กันฟรีๆ อีกด้วย





              หากใครต้องการภาพสวยๆ แบบที่ลงตามนิตยสารหล่ะก็.. โปรแกรมนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จำเป็นจะต้องใช้ Plugin Vray เข้าช่วย และจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการศึกษาพอสมควร

              การที่ google ได้ออกแบบโปรแกรมมาให้ใช้งานง่ายนั้น ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ในอีกแง่มุมนึง ก็เป็นการทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถสร้างวัตถุที่มีความซับซ้อนมากๆ ได้ ถ้าหากผู้ใช้งานต้องการจะปั้นโมเดลที่มีความละเอียดซับซ้อนสูง ก็ควรจะเลือกใช้โปรแกรม 3Dsmax, Solidwork, หรือ Maya ก็จะสะดวกกว่า

              เครื่องบินร่อนลงจอดในสภาพอากาศทัศนวิสัยต่ำได้อย่างไร?

              เครื่องบินร่อนลงจอดในสภาพอากาศทัศนวิสัยต่ำได้อย่างไร

              แปลกใจหรือไม่ ถ้าคุณมองออกไปนอกหน้าต่างขณะที่เครื่องบินกำลังร่อนลงจอด แต่กลับแทบมองไม่เห็นอะไรเลย


              นักบินมีวิธีนำเครื่องร่อนลงจอดอย่างปลอดภัยได้อย่างไรกันนะ?

              ที่เครื่องบินร่อนลงจอดได้ในสภาพทัศนวิสัยต่ำๆได้นั้น ก็เพราะว่า มีระบบนำร่องลงจอด ILS (Instrument Landing System) ซึ่งจะช่วยบอกแนวร่อน และแนวรันเวย์ให้กับนักบิน โดยนักบินจะเลือกบังคับเครื่องบินเอง หรือจะเลือกใช้ระบบอัตโนมัติก็ได้




              สามารถใช้ระบบ ILS ได้ทุกสนามบินรึเปล่า?
              ระบบนำร่อง ILS นั้นจะมีเฉพาะบางสนามบินเท่านั้น และจะมีหลายประเภท ซึ่งความแม่นยำจะต่างกันออกไป

              ถ้านักบินมองไม่เห็นอะไรเลย สามารถนำเครื่องลงจอดได้หรือไม่?

              เป็นดุลยพินิจของนักบิน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนักบินจะต้องมองเห็นวัตถุบางอย่าง ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นรันเวย์ก่อน จึงจะสามารถตัดสินใจร่อนลงได้

              วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

              การใช้ "คะ" กับ "ค่ะ" ที่ถูกต้อง

              เลือกใช้อย่างไร?

              การใช้นะคะ มีคนไทยหลายคนใช้ไม่ถูกต้องหรือเขียนผิดกันมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจความหมาย หรือแยกความแตกต่างไม่ออก ลองพิจารณาตามตัวอย่างดังนี้
              "ดีจังน๊ะค๊ะ" (ดี-จัง-นะ-คะ) ที่ถูกต้องเขียนว่า "ดีจังนะคะ" (ดี-จัง-นะ-คะ)
              "ขอบคุณคะ" (ขอบ-คุน-คะ) ที่ถูกต้องเขียนว่า "ขอบคุณค่ะ" (ขอบ-คุน-ข้ะ)"ลองดูนะค่ะ" (ลอง-ดู-นะ-ข้ะ)    ที่ถูกต้องเขียนว่า "ลองดูนะคะ" (ลอง-ดู-นะ-คะ)
              "ใช่ไหมค่ะ" (ใช่-ไหม-ข้ะ)  ที่ถูกต้องเขียนว่า "ใช่-ไหม-คะ" (ใช่-ไหม-คะ)
                          จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ดังนี้
                          คำว่า "ค่ะ"  ใช้ลงท้ายประโยคบอกเล่าหรือการตอบรับ เช่น สนุกดีค่ะ, ใช่ค่ะ
                          คำว่า "คะ"  ใช้ลงท้ายประโยคคำถาม เช่น ไปไหนคะ, สนุกมั้ยคะ

                                 เช่น     ก : ไปไหนคะ  (ประโยคคำถาม ใช้คะ ไม่เติมวรรณยุกต์) 
                                          ข : ไปกินข้าวค่ะ ( ประโยคบอกเล่า)ไปด้วยกันมั้ยคะ (ประโยคคำถาม)
                                          ก : ไม่ไปหรอกค่ะ (ประโยคบอกเล่า) 
                           
                          คำว่า "นะคะ" ใช้ลงท้ายประโยคบอกเล่า คล้ายกับ "ค่ะ" แต่ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่า เช่นขอโทษนะคะ(ใช้ ขอโทษค่ะ แทนได้) ราคาเท่าไหร่คะ หรืออาจจะใช้ในประโยคบอกเล่าที่มีลักษณะเชิญชวนหรือขอร้อง เช่น อ่านหนังสือกันบ่อยๆ ด้วยนะคะ คำนี้เป็นคำพิเศษที่เวลาเขียนต้องมาคู่กัน โทนเสียงเดียวกัน จำง่ายๆ ก็คือ ไม่มีไม้เอกอยู่ข้างบน และก็ต้องไม่มีไม้ตรี (เช่น น๊ะค๊ะ) ทั้งสองพยางค์เหมือนกัน เพราะ น.หนู และ ค.ควาย เป็นอักษรต่ำ ไม่ต้องเติมไม้ตรีก็ออกเสียงตรีอยู่แล้วค่ะ (เพิ่มเติมนิดนึง ในภาษาไทยมีเพียงอักษรกลางเท่านั้นที่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง)
                          คำว่า "นะค่ะ" 
              คำนี้บอกได้คำเดียวว่า ไม่มีใช้ในภาษาไทยค่ะ ที่ถูกต้อง คือ "นะคะ"

              poor thing!

              The dog knows he’s done nothing wrong, but he’s black, so he not taking any chances with police.